สบยช.เปิดบ้านทำประชาพิจารณ์แผนปฏิบัติ 5 ปีพัฒนาบำบัดผู้ติดยาเสพติด

0
281

วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมพลเรือตรีนายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว ชั้น 5 ตึกอำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ถ.พหลโยธิน ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ และนพ.สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ เปิดบ้านทำประชาพิจารณ์แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมือง รวมทั้งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กรมการแพทย์ โดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติขององค์กร และเห็นถึงความจำเป็นในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ เพื่อเป็นทิศทางในการดำเนินงาน การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ระยะเวลา 5 ปี ขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแผนงานโครงการต่างๆ ให้เกิดการบูรณาการ และมีทิศทางการดำเนินงานอย่างมีระบบมุ่งสู่การพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อความเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านยาและสารเสพติดในทุกมิติ นำการพัฒนาในระดับชาติและมีศักยภาพทางการแพทย์ระดับนานาชาติ
นพ.ธงชัย อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวอีกว่า ผู้ที่มาบำบัดยาเสพติด สบยช. ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติและเป็นที่ทุกคนให้ความสนใจ ให้ความสำคัญดูแลผู้ใช้ยาเสพติดที่ถือว่าเป็นผู้ป่วย และเป็นหน้าที่ของกรมการแพทย์ สบยช. ดังนั้นทุกปีเราจะต้องมีการพัฒนาถอดบทเรียนที่ทำมาไม่สูญเปล่าปฏิบัติการ 5 ปี วันนี้ครบรอบก็มีการมาประเมินว่า 5 ปีที่แล้วเปิดเป็นยุทธศาสตร์แผนการทำงานต่างๆ เป็นอย่างไรบางและก็เอาจุดอ่อน จุดแข็ง เอามาปรับปรุงว่าเราจะเดินหน้าต่อไปอย่างไรดูแลผู้ที่ใช้ยาเสพติดและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมเพื่อจะได้ดูแลเขาได้ถูกต้องเป็นสิ่งที่วันนี้ได้นำเครือข่ายในหลาย ๆ ภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ภาครัฐและหลายหน่วยงานมาร่วมกันที่จะมาทำแผนยุทธศาสตร์อีก 5 ปีต่อไปและหลังที่เราทำแล้วเราก็จะมาทำประชาพิจารณ์ให้แต่ละเครือข่ายหรือบุคคลมาช่วยกันว่ายังขาดตกบกพร่องตรงไหนควรจะเสริมตรงไหน ตรงไหน ที่ยังเป็นปัญหาอยู่และคิดว่ายังมีช่องว่างเพื่อจะมาช่วยก้นดูเพื่อที่ทุก ๆ คนได้รับการดูแลและมีส่วนรวมในสังคมซึ่งหมอไม่สามารถที่จะรักษาได้หายคนที่จะรักษาดูแลเขาได้ดีที่สุดคือสังคม คนรอบข้าง ครอบครัว เป็นเรื่องสำคัญการทำยุทธศาสตร์ในครั่งนี้นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เราที่จะให้กับสังคม ต่อไปมีเรื่องสถาบันวิจัยการใช้ยาเสพติดเพื่อให้ความรู้หลายๆ อย่างเราก็มีการพัฒนาอย่างเช่น สถาบันวิจัยเรื่องของการใช้ยาหรือการใช้ยาเสพติดและให้ความรู้ยาเสพติดแต่ละชนิดให้เขาได้รู้ ได้เข้าใจว่าเป็นอย่างไร รับรู้ว่าผู้ป่วยสิ่งที่เขาอยู่รวมกับสังคมได้อย่างไรช่วยดูแลเขาอย่างไรไม่ให้เขาเกิดปัญหาต่อตัวเอง ต่อสังคมอันนี้ก็เป็นบทบาทของ สบยช.ที่จะต้องทำแผนยุทธศาสตร์ให้แต่ละหน่วยงานโดยเฉพาะกรมการแพทย์ นำยุทธศาสตร์เหล่านี้ไปใช้เพราะเรามีหน่วยงานของกรมการแพทย์ใน สบยช. อยู่ทั่งหมด 7 แห่ง รวมทั้งที่นี่ด้วยไม่ว่าจะเป็นที่ ขอนแก่น สงขลา ปัตตานี อุดรธานี แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ กระจายไปทั่วก็จะเอายุทธศาสตร์เหล่านี้ที่ทำประชาพิจารณ์ที่มีส่วนร่วมเอาไปพัฒนาในเรื่องของการดูแลผู้เสพถ้าใช้ยาเสพติดให้กลับไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ
“ผู้เสพที่เข้ามาทำการรักษาบำบัดชนิดของยาเสพติดมากที่สุด เป็นยาบ้าที่เข้ามาเราก็ต้องรู้ทันคนใช้ก็ต้องรู้ทันว่าจะใช้อย่างไร ยังเลิกไม่ได้เพราะติดแล้ว การเลิกไม่ใช่เป็นเรื่องยากไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายสำหรับตัวผู้ติด แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากสำหรับเรา ได้รับการร่วมมือทางการแพทย์ ครอบครัว สังคม เลิกก็จะง่ายถ้าได้รับการร่วมมือ ถามว่ากัญชาเสรีนั้นไม่มี กระทรวงสาธารณสุข มีแต่เรื่องของกัญชาทางการแพทย์ก่อนหน้าที่ยังไม่มีกฎหมายคนก็ใช้กันอยู่แล้วใช้ในเรื่องของไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ว่าพึ่งจะมาใช้ในขนาดนี้ มันถูกใช้มาอยู่แล้วและเราก็เห็นข้อมูลอยู่แล้วว่า หลังจากที่กัญชาไม่ได้เป็นยาเสพติดประเภท 5 แล้วอัตราของคนที่เข้ามาทำการรักษาบำบัดติดกัญชาก็ไม่ได้สูงขึ้นจากเดิม สิ่งสำคัญในตอนนี้เราใช้กัญชาในทางการแพทย์ไม่มีคำว่า กัญชาเสรี และที่นี่เรานำกัญชามาในเรื่องของการวิจัยเพื่อใช้ในการแพทย์ใช้ในเรื่องของผู้ติดยาเสพติดที่ติดรุ่นแรงเช่นเฮโรอีน ยาบ้า การติดเฮโรอีนเราก็ใช้ตัวยามาเป็นประโยชน์อยู่ในกลุ่มเฮโรอีนอ่อนๆ ค่อยๆลดน้อยลงมาวันนี้กรมการแพทย์ สบยช.และสถาบันธัญญะรักษ์หลายๆ แห่งกำลังทำการวิจัยว่าเราจะทำอย่างไรที่จะเอากัญชา น้ำมันกัญชาทางการแพทย์เพื่อไปลดการติดยาเสพติดพวกรุ่นแรงค่อยๆ ลดเรามองว่าเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ล้วน ๆ กระทรวงสาธารณสุขมองทางการแพทย์จุดประสงค์กัญชาทางการแพทย์ “อธิบดีกล่าว”