ผวจ.ปทุมธานี แถลงจัดการแข่งขันเรีอยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี

0
235

 เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์การค้าตลาดรังสิต บริเวณลานจอดรถ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการแถลงข่าว การจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดปทุมธานี ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประจำปี 2556  ร่วมด้วยพลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี นายชาญยุทธ เศวตสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต  การแข่งขันเรือยาวจัดงานระหว่างวันที่ 3-5 ธันวาคม ณ แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสวนเทพปทุม ต.บางปรอก อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี

นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า จังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดที่เป็นปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันเมืองได้ขยายตัวออกมาทำให้จังหวัดปทุมธานีได้รับการพัฒนาเจริญก้าวหน้ากว่าเดิมไปมาก อีกทั้งจังหวัดปทุมธานี เดิมเป็นหัวเมืองสำคัญแห่งหนึ่ง มีวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ มากมายเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนต่างชาติพันธุ์ที่มาอยู่ร่วมกัน มีความผูกพันซึ่งกันและกันในท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานีเองนั้นเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่งทั้งการท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม สถานที่สำคัญทางศาสนาหลายแห่ง จึงเหมาะกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันจังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนมีอาชีพทำการเกษตร ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำที่ไหลมาจากตอนบนของประเทศ มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง คือ แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งถือเป็นเส้นเลือดใหญ่สำคัญของประชาชนในภาคกลางในสมัยก่อนนั้นคนไทยใช้สายน้ำในการดำรงชีวิตเป็นหลัก ไม่ว่าจะใช้ทำการเกษตรกรรมต่างๆ ใช้ในการสัญจรเดินทางติดต่อค้าขายจึงมีวัฒนธรรมทางสายน้ำเกิดขึ้นมาช้านาน ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีเหล่านั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากการประกอบอาชีพ หรือในช่วงเวลาเทศกาลสำคัญต่างๆ เช่น การเล่นเพลงเรือร้องเกี้ยวพาราสีกันในหมู่หนุ่มสาวแต่ละท้องถิ่นการแข่งขันเรือก็เช่นกัน เกิดจากการที่แต่ละชุมชน แต่ละหมู่บ้านรวมตัวกันแล้วนำเรือมาแข่งขันกันในช่วงเทศกาลงานทอดกฐินผ้าป่า ซึ่งเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก โดยนำเอาเรือพื้นบ้านต่างๆ ที่ชาวบ้านใช้ในการดำรงชีวิตมาแข่งขัน เช่น เรือพายม้า เรือยาวโบราณ เป็นต้นต่อมาการแข่งขันถูกพัฒนารูปแบบมากขึ้น จนเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการท่องเที่ยวก็ถือเป็นหัวใจหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการมีส่วนร่วมส่งเสริมการแข่งขันเรือยาวประเพณี ประจำปี 2566 และเป็นที่น่ายินดีว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ได้เชิญเรือมากจากหลายท้องถิ่นทั่วประเทศเข้ามาร่วมแข่งขัน ซึ่งเป็นการช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละชุมชนตามนโยบายรัฐบาลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเชื่อว่าการแข่งขันเรือยาวประเพณี จะสร้างความสุขความสนุกสนานและความสมัครสมานสามัคคีต่อพี่น้องชาวเมืองปทุมธานี และพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดจากทางสื่อด้านต่างๆ

ด้านพลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้จัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณีในครั้งนี้ สำหรับการจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณีฯในปีนี้กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-5 ธันวาคม 2566 ณ แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสวนเทพปทุม ร่วมชมและเชียร์สุดยอดฝีพายจากทั่วทุกภาค ในการแข่งขันเรือยาวประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเรือยาว 55 ฝีพาน 40  ฝีพาย และ 30 ฝีพาย และประเภทเรือพายม้าหรือเรือท้องถิ่น 10 ฝีพาย งานแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดปทุมธานี 2566 เที่ยวฟรี ชมฟรีตลอดงาน โดยการจัดงานในปีนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดงานทั้งหมดจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี โดยจะมีการถ่ายทอดสดออนไลน์ตลอดการแข่งขันและรอบชิงชนะเลิศวันที่ 5 ธันวามคม 2566 จะถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ททบ 5 เวลา 14.30-16.30 น.

ทางด้านร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต กล่าวว่า สำหรับเรือที่เข้าแข่งขันในประเภทต่างๆนั้นทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้เชิญเรือดีเรือดังมาจากหลายๆท้องที่เป็นต้นว่า ประเภทเรื่อยาว 55 ฝีพาย อาทิ เรือขุนศึกรามัญ เรือศรพลายวาต วีทีสปอร์ตจากอีสาน เรือเทพราชันดำ จากนครศรีธรรมราช ซึ่งรวม ทั้งหมด 8 ลำ ส่วนประเภทเรือยาว 40 ฝีพาย อาทิ เรือเจ้าแม่ประดู่เงิน จากชลบุรี เรือพรพระแก้ว จากสิงห์บุรีเรือสิงห์ปทุม เรือสิงห์รังสิต จากปทุมธานี เรือเพชรดารา จากนครสวรรค์ มีเรือทั้งหมด 8 ลำ ส่วนประเภทเรือยาว 30 ฝีพาย มีเข้าแข่งขัน 12 ลำ อาทิ เรือเทพสิงหนครจากกรุงเทพมหานคร เรือท้าวขุนศรี ขุนพันธุ์ จากอุบลราชธานี เรือแม่แก้วมณีรัตน์ จากจังหวัดพิจิตร เรือแม่อรพิน จากจังหวัดบุรีรัมย์ เรือฉัตรชัย จากนครสวรรค์ เป็นต้น ส่วนเรือพายม้ามี 12 ลำ ซึ่งเป็นเรือชาวบ้านจากแต่ละท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีในปีนี้ฝ่ายจัดการแข่งขันเตรียมงบประมาณในส่วนเงินรางวัลและเงินสนับสนุนร่วม 5 ล้านบาทในท้ายที่สุดนี้ก็ขอเชิญชวนพี่น้องชาวจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดใกล้เคียงไปร่วมงานและชมการแข่งขันเรือยาวประเพณีประจำปี 2566  นอกจากนั้นภายในมีการงานออกร้านจำหน่ายสินค้าโอทอปและสินค้าชุมชนกว่า 100 ร้านค้าพร้อมชมมินิคอนเสิร์ตจากค่ายศิลปินดังๆ