ตำรวจสอบสวนกลางร่วม อย.จับ 3 เครือข่ายร้านยาลักลอบขายยาแก้ไอให้เยาวชน

0
477

 วันที่ 28 ตุลาคม 2565 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. พ.ต.อ. ธรากร เลิศพรเจริญ พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์ พ.ต.อ.สมเกียรติ ตันติกนกพร รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภญ.วรสุดา ยูงทอง ผู้อำนวยการกองยา และสภาเภสัชกรรม โดภก.ปรีชา พันธุ์ติเวช อุปนายกสภาเภสัชกรรมคนที่ 2 ร่วมกันแถลงผลงานจับกุมกวาดล้างเครือข่ายร้านขายยาลักลอบขายยาแก้ไอให้เยาวชน จับกุมผู้ต้องหา 20 ราย พร้อมยึดของกลางที่เกี่ยวข้องกว่า 35 รายการ มูลค่าของกลางกว่า 2,400,000 บาท

 สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการ คุ้มครองผู้บริโภค ได้รับการประสานงานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนร้าน ขายยาที่มีพฤติการณ์ใช้พนักงานขายยาที่ไม่ใช่เภสัชกร ขายยาแก้แพ้ยาแก้ไอ ยาแคปซูลเขียวเหลืองให้กลุ่มเยาวชนเพื่อ เป็นส่วนผสมยาเสพติดชนิด 4×100 อีกทั้งสภาเภสัชกรรมได้ประชุมหารือกับ กก.4 บก.ปคบ. และแถลงจุดยืนเน้นย้ำให้ ร้านขายยาทุกร้านจะต้องมีเภสัชกรประจำโดยจะดำเนินการกับเภสัชกรแขวนป้าย กก.4 บก.ปคบ. จึงร่วมกับสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา เข้าตรวจสอบเครือข่ายร้านขายยาที่ทำผิดกฎหมายรายใหญ่ 3 เครือข่าย รายละเอียด ดังนี้ 1.เครือข่ายร้านขายยานายเอ (สงวนนามสกุล) วันที่ 15 กันยายน 2565 ตรวจค้นร้านขายยาและสถานที่จัดเก็บยาซึ่งดัดแปลงจากร้านขายยาเก่าที่ถูกระงับใบอนุญาต ในพื้นที่ แขวงสายไหม จำนวน 2 จุด พบของกลางเป็นยายี่ห้อแพคมาดอล PACMADOL® ซึ่งมีสถานะยกเลิกทะเบียนตำรับยา(ยาปลอม) จำนวน 4,000 เม็ด ยาเขียว เหลือง (ทรามาดอล) จำนวน 166,550 แคปซูล ยาแก้แพ้แก้ไอชนิดน้ำเชื่อม จำนวน 20,047 ขวด รวมของกลางซึ่งเป็น ความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 7 รายการ มูลค่าของกลางกว่า 2,000,000 บาท จับกุมผู้ต้องหา 3 ราย โดยพนักงานขายยาในร้านถูกดำเนินคดีในข้อหา “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมฯ โดยมิได้ขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต” และดำเนินคดีกับ นางบี (สงวนนามสกุล) และนายเอ (สงวนนามสกุล) ในข้อหา ร่วมกัน “ร่วมกันขายยาปลอม และร่วมกันย้ายสถานที่เก็บยาโดยไม่ได้รับอนุญาต” จากการสืบสวนขยายผลพบว่ามีร้านขายยาในเครือข่ายเดียวกันที่มีนายเอฯ เป็นเจ้าของ จำนวน 14 ร้าน ต่อมาระหว่างวันที่ 12-15 ตุลาคม 2565 จึงร่วมกับ อย.ตรวจค้นร้านขายยาเครือข่ายในพื้นที่กรุงเทพฯ และ จ.ปทุมธานี จำนวน 8 จุด จับกุมผู้ขายยาที่ไม่ใช่เภสัชกร 8 ราย ดำเนินคดีในข้อหา “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมฯโดยมิได้ขึ้น ทะเบียนและรับใบอนุญาต” ตรวจยึดของกลางเป็นยาแก้แพ้แก้ไอ 12ขวด และยาที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 9 รายการ 2 2.เครือข่ายร้านขายยานายซี (สงวนนามสกุล) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ตรวจค้นร้านขายยาใน พื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 4 จุด จับกุมผู้ขายยาที่ไม่ใช่เภสัชกร 4 ราย ในข้อหา “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมฯ โดยมิได้ ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต” ซึ่งร้านขายยาทั้ง 4 ร้าน มีกลุ่มเครือข่ายร้านขายยาของนายซี เป็นเจ้าของ ตรวจยึดของกลางเป็นยาแก้แพ้แก้ไอชนิดน้ำเชื่อม 5,500 ขวด, ยาเขียวเหลือง(ทรามาดอล) 26,500 แคปซูล ซึ่งเป็น ความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 7 รายการ มูลค่าของกลางกว่า 400,000 บาท 3. เครือข่ายร้านขายยา นายดี (สงวนนามสกุล) วันที่ 27 ตุลาคม 2565 ได้ร่วมกับ อย.ตรวจค้น ร้านขายยาในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 5 จุด จับกุมผู้ต้องหา 5 ราย ดำเนินคดีข้อหา “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมฯ โดย มิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต” ตรวจยึดของที่กลางเป็นยาแก้แพ้แก้ไอชนิดน้ำเชื่อม 18,590 ขวด, ยาเขียวเหลือง (ทรามาดอล) 2,020 แคปซูล และยาซิเดกร้า 60 เม็ด ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 13 รายการ รวมตรวจค้น 19 จุด จับกุมผู้ต้องหาทั้งหมด 20 ราย ดำเนินคดีข้อหา “ร่วมกันขายยาปลอม และ ร่วมกันย้ายสถานที่เก็บยาโดยไม่ได้รับอนุญาต” จำนวน 2 ราย ดำเนินคดีในข้อหา “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมฯ โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต” จำนวน 18 ราย โดยกลุ่มผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมข้อหาขายยาโดยไม่ใช่เภสัชกร และไม่มีความรู้ด้านเภสัชกรรมแต่อย่างใด ซึ่งจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 ราย, มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 ราย มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ราย ปวส. จำนวน 3 ราย ปริญญาตรี จำนวน 5 ราย ตรวจยึดของกลาง เป็นยาแก้แพ้แก้ไอ 44,149 ขวด ยาเขียวเหลือง(ทรามาดอล) 195,070 แคปซูล ยายี่ห้อแพคมาดอล PACMADOL® ซึ่งมีสถานะยกเลิกทะเบียนตำรับยา (ยาปลอม) จำนวน 4,000 เม็ด และยาซิเดกร้า 60 เม็ด ซึ่งเป็น ความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 35 รายการ ซึ่งกลุ่มเครือข่ายทั้ง 3 ราย มีรูปแบบการกระทำความผิดใน ลักษณะขออนุญาตเปิดร้านขายยาหลายแห่งเพื่อจะได้รับโควต้าในการซื้อยาแก้แพ้ ยาแก้ไอในปริมาณมาก และมุ่งเน้น ขายเฉพาะกลุ่มเยาวชน และขายมากกว่า 3 ขวดต่อครั้ง (เกินที่กฎหมายกำหนด) เพื่อนำไปใช้ในการผสมสารเสพติด ชนิด 4×100 จึงร่วมกับจับกุมผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี กรณีผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินกิจการร้านขายยา(เจ้าของร้านขายยา) ที่ขออนุญาตเปิดร้านขายยา โดยมี พฤติการณ์ขายยาแก้แพ้แก้ไอและยาเขียวเหลืองให้กับเยาวชน เบื้องต้นมีความผิดฐาน “ไม่จัดทำบัญชียาที่ซื้อและขาย ตามที่กำหนดฯ และขายยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะได้เสนอคณะกรรมการยาพักใช้ใบอนุญาตต่อไป เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม 1. พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 1.1 มาตรา 26(6) ฐาน “ไม่จัดทำบัญชียาที่ซื้อและขายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”ระวางโทษปรับ 2,000-10,000 บาท 1.2 มาตรา 32 ฐาน “ขายยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่” ระวางโทษปรับ 1,000-5,000 บาท 1.3. มาตรา 30 ฐาน “ย้ายสถานที่เก็บยาโดยไม่ได้รับอนุญาต” ระวางโทษปรับ 1,000-3,000 บาท 1.4 มาตรา 72(1) ฐาน “ขายยาปลอม” ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปีหรือปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท 2. พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 28 ฐาน “ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมฯโดยมิได้ขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

 พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. กล่าวว่า การปลดล็อก “พืชกระท่อม” ออกจากยาเสพติด ประเภท 5 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้คนบางกลุ่มโดยเฉพาะเยาวชนใช้โอกาสนำเอาน้ำกระท่อมไปใช้เป็นส่วนผสมกับยาแก้แพ้ แก้ไอ หรือยาแก้ปวดในลักษณะสารเสพติดที่เรียกว่า “4×100” แล้วนำมาดื่มเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา เสียสุขภาพและ อาจก่อเกิดเหตุอาชญากรรมสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนตามมา โดยร้านขายยาเป็นสถานที่ซึ่งมีเพื่อให้ประชาชน สามารถเข้าถึงการรักษาสุขภาพได้สะดวกและต้องได้รับคำแนะนำจากผู้มีความรู้ทางเภสัชกรรม ไม่ใช่สถานที่ที่ใช้เพื่อใช้ ช่องว่างในการอำนวยความสะดวกให้เยาวชนเข้าถึงยาเสพติดง่ายขึ้น บก.ปคบ.จะดำเนินกวดขันจับกุมร้านขายยารวมถึง เครือข่ายที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมายในการขออนุญาตเปิดร้านขายยาเพื่อหวังโควต้าในการซื้อยาแก้ไอ แก้แพ้ใน ปริมาณสูงแล้วนำยาดังกล่าวไปขายแก่กลุ่มเยาวชน เพื่อตัดตอนการเข้าถึงยาเสพติดชนิด 4×100 ให้ถึงที่สุด และจะ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยประชาชนทั่วไปหากพบเห็นการกระทำความผิด สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ. 1135 หรือเพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค  

 ทางด้าน ภญ.วรสุดา ยูงทอง ผู้อำนวยการกองยา กล่าวว่าจากการตรวจสอบเครือข่ายร้านขายยากลุ่มเสี่ยงร่วมกับ บก.ปคบ. พบร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตมีผู้ดำเนินกิจการเป็นชื่อเดียวกันและเปิดเป็นเครือข่ายหลายร้าน โดยมี พฤติการณ์ในการขายยาแก้แพ้แก้ไอและยาแก้ปวดทรามาดอลให้แก่กลุ่มวัยรุ่น เพื่อนำมาผสมเป็น 4×100 หรือนำมา ผสมกับน้ำอัดลม และอาจผสมกับยาบางชนิดใช้สำหรับดื่มเพื่อความมึนเมาและเสพติดเป็นการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด มอมเมาประชาชนและเกิดปัญหาต่อสังคมตามมา ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีประกาศ เรื่อง การควบคุมการจำหน่ายยาน้ำแก้ไอที่มี ส่วนประกอบของไดเฟนไฮดรามีน หรือโปรเมทาซีน หรือเดกซ์โตรเมธอร์แฟน โดยจำกัดปริมาณการขายยาแก้ไอที่มี ส่วนประกอบของยาทั้ง 3 ดังกล่าว จากผู้ผลิตไปยังร้านขายยาไม่เกิน 300 ขวดต่อแห่งต่อเดือน และจำกัดปริมาณการ ขายยาให้แก่ประชาชนครั้งละไม่เกิน 3 ขวด เพื่อป้องกันการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด นอกจากนี้ผู้รับอนุญาตและเภสัชกร ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการมีหน้าที่จัดทำบัญชีซื้อและขายยาให้เป็นจริง หากพบร้านขายยาใดฝ่าฝืนการกระทำความผิดซ้ำ จะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และพักใช้ใบอนุญาตขายยาจนกว่าคดีถึงที่สุด รวมทั้งแจ้งสภาเภสัชกรรม ดำเนินการกับเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการต่อไป จึงขอเตือนผู้รับอนุญาตและเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอย่างเคร่งครัด เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ การดำเนินงานในครั้งนี้ อย.จะดำเนินการตามกฎหมายและมาตรการทางปกครองอย่างถึงที่สุด ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th หากพบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตสามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai,Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดทั่วประเทศ

 ด้าน ภก.ปรีชา พันธุ์ติเวช อุปนายกสภาเภสัชกรรมคนที่ 2 กล่าวว่า ปัจจุบันยังพบว่ามีการจับกุมร้านขายยาที่ลักลอบขายยาแก้ไอ ยาทรามาดอลให้กับเยาวชนเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เอาไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อ การเสพติด และผู้ขายยาก็ไม่ใช่เป็นผู้มีความรู้เรื่องยาโดยตรง ซึ่งก็จะมีความผิดทั้งใน พรบ.ยา พ.ศ.2510 คือขายยา 4 อันตราย ยาควบคุมพิเศษ ระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ แม้อาจจะมีเพียงโทษปรับก็ตาม แต่ลักษณะการขายยาดังกล่าว จะเข้าข่ายความผิดตาม พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 ด้วยคือประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (การขายยา) โดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งจะมีโทษสูงปรับ 30,000 บาท หรือจำคุก 3 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งผู้ที่แอบจ่ายยาโดยไม่ใช่เภสัชกรจะต้อง มีความเข้าใจในเรื่องนี้และกรณีนี้เภสัชกรที่เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านต่างๆเหล่านี้ หากไม่ได้อยู่ปฏิบัติการตลอดเวลาที่เปิดทำการ แม้จะไม่ได้เป็นผู้ขายากลุ่มเสี่ยงดังกล่าวด้วยตัวเอง แต่เภสัชกรในฐานะผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการได้มี การควบคุมกำกับเกี่ยวกับการขายยา การส่งมอบยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่หรือมีการปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลไม่ให้มีการขายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่หรือไม่ อย่างไร หรืออาจเข้าข่ายการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยผิดกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นความผิด ทางจรรยาบรรณได้โดยมีโทษพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เป็นระยะเวลา 2 ปี ดังนั้นจึงขอให้เภสัชกรที่ไม่ได้อยู่ประจำตลอดเวลาต้องระมัดระวัง และสอดส่องกำกับดูแลให้มีการขายยาให้ถูกต้องตามที่ พรบ.ยา พ.ศ.2510 กำหนด เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่