สมาคมคนพิการปทุมธานี เปิด”ฟาร์มสามารถ”ศูนย์การเรียนรู้เพิ่มอาชีพฯ

0
470

สมาคมคนพิการปทุมธานี ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี  จัดงานเสวนา”ฟาร์มสามารถ” โดยมี ผศ.ดร.ฤทธิรงค์  จุฑาพฤฒิกร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นายเอกพจน์ ปานแย้ม นายกเทศมนตรีเมืองคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และนายศุภชีพ ดิษเทศ นายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยและประธานมูลนิธิคนพิการไทย ร่วมโต๊ะเสวนา หัวข้อที่ไปที่มาของคำ “ฟาร์มสามารถ” การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างไม่สิ้นสุดการเรียนรู้ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติลองผิดลองถูกถือเป็นการเรียนรู้ที่ทรงพลัง

นายเขื่อน สุปัญบุตร นายกสมาคมคนพิการจังหวัดปทุมธานี  เปิดเผยว่า เมื่อปี 2563 ทางสมาคมคนพิการปทุมธานี ได้ให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เข้ามาช่วยออกแบบ มาตร 35 คือพวกเราอยากปลูกผัก ตอนแรกก็คิดว่าปลูกผักสลัดไว้กินกันเอง เหลือก็จะเอาไปขาย ซึ่งเป็นการปลูกผักปลอดสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ปลูกด้วยดินแรกก็ไปอบรมและไปเอาดินมาจากสิงห์บุรี ผลตอบรับก็ดีขึ้นและมีอาชีพเพิ่มขึ้นอีกกับสมาชิกคนพิการ แต่ก่อนพวกเราขายลอตเตอรี่ ซ่อมวิทยุ ซ่อมโทรทัศน์ จึงเป็นที่มาร่วมกลุ่มปลูกผักกินเอง และบางส่วนก็นำไปขาย โดยมีตลาดมาซื้อถึงที่ฟาร์ม ขายหน้าฟาร์ม 120 บาทต่อกิโลกรัม และต่อยอดทำน้ำสลัดกินกับผักปลอดสาร นอกจากนี้อยากให้มีที่นั่งกินในฟาร์ม จึงให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ช่วยออกแบบร้านขายกาแฟ ขายผัก ทำน้ำสลัด น้ำผักสุขภาพ เป็นการต่อยยอดผลิตภัณฑ์ให้กับคนพิการ ได้มีอาชีพ และยังเป็นที่ดูงาน ซึ่งทางเราได้จัดทำเป็นวิดิทัศน์ให้ความรู้ให้คนมาเที่ยว คนที่มาก็จะสนุกกับกิจกรรมเก็บผักเอง ทำกินกับน้ำสลัด ซึ่งหากมีหน่วยงานใดสนใจมาดูงาน ทางสมาคมคนพิการจะมีการสอนแบบลงมือปฏิบัติ สอนตั้งแต่วิถีเพาะเมล็ดต้นกล้า วิถีการผสมดิน ทำปุ๋ยหมัก เราพร้อมแนะนำและไปสอนถึงบ้าน

ขณะที่ ผศ.ดร.ฤทธิรงค์  จุฑาพฤฒิกร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวถึง โครงการความสามารถเป็นโครงการความร่วมมือกันระหว่างสมาคมคนพิการปทุมธานีกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เราเข้ามาศึกษาคนพิการก่อนว่า เขามีความต้องการอะไร แต่ประเด็นหลัก ทำไงก็ได้ที่เสริมให้เขามีรายได้ มีอาชีพซึ่งมันจะทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น และต่อยอดออกไปให้เขาอยู่ได้ ไม่ใช่อยู่บ้านเฉย ๆ และที่สมาคมเดิมเขาปลูกผักอยู่แล้วราคาไม่สูง ผักกวางตุง เราก็มองเห็นศักยภาพของเขา มันน่าจะทำอะไรที่ได้มากกว่านี้ จึงเป็นที่มาของโครงการ “ฟาร์มสามารถ” บ่งบอกความสามารถของเขาที่มันจะเป็นอะไรก็ได้ ในเรื่องของสภาพแวดล้อมเป็นตัวอุปสรรคหลักที่ตัวคนพิการเข้าไปไม่ถึงตัวแปรงผักความจริงเขาเข้าถึง แต่มันยากลำบากมันไม่ค่อยสะดวก เราก็เลยเข้ามาในฐานะสถาปัตยกรรม เข้ามาปรับสภาพแวดล้อมเพื่อให้รถเข็น วีลแชร์ มนุษย์ล้อ สามารถจะเข้ามาดูแลแปรงผักของตัวเองได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็พบอุปสรรคอีกอย่างคือ การที่จะเข็นรถเข้ามาบริเวณต้องมีคนดูแล เนื่องจากต้องใช้พลังเยอะในการทำงาน เรามองว่า ต้องมีเทคโนโลยีอะไรบาง ที่เข้ามาสนับสนุน ควรต้องมีรดน้ำอัตโนมัติระบบควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนจะช่วยประหยัดแรงงาน ควบคุมโดยใช้มือถือนำเทคโนโลยีตัวเองเข้ามาสนับสนุนในการทำฟาร์มสามารถ ฟาร์มของคนพิการ ทำโครงการตั้งเป้าไว้ 3 ปีก่อน ปีแรกคือทำฟาร์มลงเรือนปลูกผักเอาเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามา ประเด็นต่อมาเรามองว่าแล้วจะขายยังไง เพราะเราตั้งเป้าสุดท้ายว่า เขาจะต้องอยู่ได้ และมีรายได้ที่มั่นคงเรื่องการขายก็เป็นเรื่องสำคัญ ให้ตัวผู้พิการมีรายได้ ขายได้ ปีที่สอง จึงทำร้านค้าเพื่อเป็นศูนย์การขายเป็นสัญลักษณ์ว่า ใครที่มาเยี่ยมชมที่นี่หรือใคร ที่มาก็จะได้นั่งทานกาแฟ ทำอาหาร ทำขนม ที่ทานกับผักได้ ไม่ว่าจะน้ำสลัด แซนวิช น้ำผัก โดยใช้ผลผลิตจากแปรงผักที่ปลูกในพื้นที่ นอกจากจะได้มาเยี่ยมชมและยังสามารถเข้ามาเรียนรู้ ได้เรียนทักษะในการปลูกผัก ทำน้ำสลัด โดยผู้พิการเป็นพี่เลี่ยงเป็นครู ส่วนใครอยากจะปลูกผักมาเรียนรู้ก็สามารถเข้ามาได้คาดปีถัดไปจะทำที่ตรงนี้ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโครงการ ”ฟาร์มสามารถ” เราเชื่อว่าทุกคนก็สามารถที่จะทำฟาร์มได้